นวัตกรรมการจัดการขยะมูลฝอย
          ชุมชนหัวทุ่ง-ทุ่งพร้าวพัฒนา เป็นชุมชนเลี้ยงสัตว์และเกษตรกรรม คนในชุมชนมีวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในการดำรงชีวิตควบคู่ไปกับการอยู่กับธรรมชาติ แต่เดิมนั้นการเลี้ยงสัตว์เป็นการเลี้ยงแบบในทุ่งกว้างและทำเล้าล้อมรอบหรือเรียกว่าคอก ชาวบ้านจะนำเอาไม้ไผ่ที่มีอยู่ในชุมชนมาขัดกันและล้อมเป็นวงเพื่อนำเศษฟางและเศษหญ้าใส่ให้วัวกิน เรียกว่า กะหัง (กะหัง,ปะหัง หมายถึง เครื่องใช้ทําด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกขัดเป็นวงสําหรับใส่หญ้าให้วัวควายกิน) เมื่อรูปแบบการดำรงชีวิตเริ่มเปลี่ยนไป แต่ภูมิปัญญาจากประสบการณ์ยังคงอยู่ชาวบ้านจึงเพิ่มอรรถประโยชน์ของกะหัง โดยการนำมาขัดไว้โดยล้อมรอบต้นไม้ ทำให้เกิดถังขยะอินทรีย์บริเวณรอบต้นไม้ เมื่อกวาดเศษไม้กิ่ง ไม้ ก็นำมาใส่ไว้ นอกจากจะเป็นอาหารของสัตว์ได้เหมือนเดิม เศษไม้ ใบไม้ที่ย่อยสลายก็กลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ แตกต่างจากที่เคยกวาดสุมกองรวมไว้ เมื่อมีลมพัดก็กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ต้องเผาเกิดมลพิษในชุมชน เมื่อทำกะหังใบไม้นี้นี้ ก็แก้ปัญหาใบไม้ปลิวกระจัดกระจายและเพิ่มอรรถประโยชน์ได้อีก เป็น นวัตกรรมการจัดการขยะจากภูมิปัญญา โดยแท้จริง
 
 
 
นวัตกรรมการจัดการขยะมูลฝอย
นวัตกรรมการจัดการขยะมูลฝอย